top of page

15 อาการ! ที่บ่งบอกว่าระบบภูมิคุ้มกันของคุณมีปัญหา



เมื่อไหร่ที่ระบบภูมิคุ้มกันของคุณทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ มันจะช่วยให้การทำงานของร่างกายเป็นไปอย่างปกติ และช่วยให้คุณใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่น แต่อย่างไรก็ตาม ระบบภูมิคุ้มกันที่ประกอบไปด้วยเซลล์ชนิดพิเศษมากมาย ประกอบขึ้นเป็นเนื้อเยื่อ และรวมกันเป็นอวัยวะต่างๆ ที่ทำงานประสานกันในระบบ ก็ไม่ได้ทำหน้าที่ของพวกมันได้สมบูรณ์แบบเสมอไป เมื่อเกิดความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันขึ้นบ่อยๆ นั่นอาจเป็นสาเหตุของภาวะผิดปกติตามมาได้อีกมากมาย เช่น ภูมิแพ้ หอบหืด และผิวหนังอักเสบ เป็นต้น


ภาวะเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าระบบภูมิคุ้มกันมีโอกาสจะทำร้ายคุณ แทนที่จะปกป้องร่างกายอย่างที่ควรจะเป็น ภาวะผิดปกติเหล่านี้อาจนำมาซึ่ง “โรคแพ้ภูมิตัวเอง” ที่เกิดขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 รวมไปถึง อาการแพ้กลูเตน, โรคลูปัส, โรคปลอกประสาทอักเสบ, โรคสะเก็ดเงิน และโรคข้ออักเสบ เราสามารถพบโรคที่มีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติได้มากกว่า 80 ชนิด ซึ่งภาวะผิดปกติเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิด “การอักเสบ” ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว


วันนี้ Innerwell อยากจะมาแชร์ 16 สัญญาณเตือนที่แสดงออกทางร่างกายเมื่อเกิดความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อให้คุณรู้ตัวถึงความผิดปกติก่อนสายเกินแก้ อาการเหล่านั้นมีอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลยค่ะ


1. มือเย็น

เมื่อหลอดเลือดเกิดการอักเสบ อุณหภูมิของอวัยวะต่างๆจะต่ำลง ไม่ว่าจะเป็น นิ้วมือ นิ้วเท้า หู หรือจมูก นอกจากนั้นผิวหนังจะมีสีซีดลง และยิ่งถ้าปล่อยเอาไว้นานผิวจะเริ่มมีสีม่วงหรือน้ำเงินมากขึ้นเรื่อยๆ โดยผิวหนังจะกลับมาเป็นสีปกติได้ต่อเมื่อเลือดกลับมาไหลเวียนเป็นปกติ อาการมือเย็นและมีสีซีดอาจเกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน ซึ่งเรียกอาการนี้ว่า “Raynaud’s phenomenon”


2. มีปัญหาการขับถ่าย

- อาการท้องร่วง ที่มีอาการติดต่อกันเป็นระยะเวลา 2-4 สัปดาห์ เป็นสัญญาณเตือนว่าระบบภูมิคุ้มกันของคุณกำลังทำร้ายเยื่อบุลำไส้เล็ก หรือทางเดินอาหารของคุณอยู่

- อาการท้องผูก เป็นอีกอาการที่น่ากังวลเช่นกัน หากคุณขับถ่ายได้ไม่สะดวกอย่างต่อเนื่อง อุจจาระเป็นก้อนแข็งหรือลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆเหมือนอุจจาระกระต่าย อาจบ่งบอกว่าระบบภูมิคุ้มกันของคุณทำให้ลำไส้ชะลอการทำงานลง


3. ตาแห้งและระคายเคือง

ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ภูมิตัวเองมักจะมีอาการตาแห้ง และรู้สึกระคายเคืองตาเหมือนมีเม็ดทรายหรือฝุ่นอยู่ในดวงตา อาจมีอาการเจ็บปวดตา ตาแดง เยื่อบุตาอักเสบชนิดเห็นรอยแดงเป็นเส้นๆ บางคนอาจมีอาการตามัวมองเห็นไม่ชัด บางคนมีอาการร้องไห้แล้วไม่มีน้ำตาไหลออกมา


4. รู้สึกอ่อนเพลียมาก

ถ้าคุณมีอาการอ่อนเพลียอย่างมากแบบเดียวกับตอนที่มีไข้ อาจบ่งบอกได้ว่าระบบภูมิคุ้มกันเกิดความผิดปกติ โดยเฉพาะเมื่อนอนหลับพักผ่อนแล้วแต่ไม่ช่วยให้ดีขึ้น นอกจากนั้นมักจะมีอาการปวดข้อและปวดกล้ามเนื้อร่วมอีกด้วย


5. มีไข้ต่ำๆ

ถ้าอุณหภูมิร่างกายสูงมากขึ้นกว่าปกติ อาจเกิดขึ้นจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันเริ่มจะทำงานหนักเกินไป ซึ่งอาจมีผลมาจากกระบวนการการอักเสบที่กำลังจะเกิดขึ้น หรือเป็นอาการเริ่มต้นของภาวะแพ้ภูมิตัวเอง


6. อาการปวดหัว

ในบางกรณี อาการปวดหัวอาจมีความเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น เมื่อเป็นโรคหลอดเลือดอักเสบ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของหลอดเลือดที่เกิดจากการติดเชื้อหรือโรคภูมิต้านตนเอง


7. มีผื่นขึ้น

ผิวหนังเป็นปราการด่านแรกที่ปกป้องร่างกายจากเชื้อโรค ดังนั้นอาการต่างๆที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนังจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงสุขภาพของระบบภูมิคุ้มกันของคุณว่าทำงานได้ดีแค่ไหน อาการผิวแห้ง แดง คัน เป็นอาการพื้นฐานเมื่อเกิดการอักเสบ อาการที่พบบ่อยเมื่อระบบภูมิคุ้มกันมีปัญหาคือ “ผื่น” ที่มักสร้างความเจ็บปวด แสบ คัน ไม่สบายตัว ให้แก่ผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยโรคลูปัสมักมีผื่นรูปร่างเหมือนผีเสื้อปรากฏขึ้นที่บริเวณจมูกและแก้ม เป็นต้น


8. อาการปวดข้อ

เมื่อเยื่อบุภายในข้อเกิดการอักเสบ บริเวณโดยรอบข้อจะอ่อนไหวต่อสัมผัสกว่าปกติ ข้ออาจมีอาการแข็งตึงและอาการบวม ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นบริเวณข้อหลายตำแหน่งพร้อมกัน และมักจะรู้สึกปวดตึงมากเป็นพิเศษในช่วงเช้า


9. ผมร่วงเป็นหย่อม

ในบางครั้งระบบภูมิคุ้มกันก็ทำร้ายรากผมและรากขน ถ้าคุณมีอาการผมหรือขนบริเวณส่วนต่างๆของร่างกายร่วงอย่างผิดปกติ คุณอาจมีอาการของโรค Alopecia Areata หรือโรคผมร่วงเป็นหย่อมได้ และถ้าคุณสังเกตว่าผมร่วงเป็นกระจุก นั่นอาจเป็นอาการหนึ่งของโรคลูปัสได้เช่นกัน


10. อาการติดเชื้อที่เกิดขึ้นบ่อยๆ

หากคุณต้องใช้ยาปฏิชีวนะมากกว่าปีละสองครั้ง (มากกว่า 4 ครั้ง สำหรับเด็ก) ร่างกายของคุณอาจไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคด้วยตัวมันเองได้ดีพอ สัญญาณอันตรายอื่นๆ เช่น การมีอาการของโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง หูอักเสบมากกว่าสี่ครั้งในหนึ่งปี (สำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 4 ปี) หรือมีอาการปอดบวมมากกว่าหนึ่งครั้งต่อปี ก็สงสัยได้ว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน


11. ผิวไวต่อแสงแดด

ผู้ที่มีโรคแพ้ภูมิตัวเองบางครั้งมีปฏิกิริยาแพ้รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ที่เรียกว่า Photodermatitis ซึ่งทำให้คุณเป็นแผลพุพอง ผื่น หรือตกสะเก็ดหลังจากอยู่กลางแดด หรืออาจมีอาการหนาวสั่น ปวดหัว หรือคลื่นไส้ได้

12. การรู้สึกเจ็บแปลบหรือชาบริเวณมือและเท้า

ในบางกรณีการรู้สึกเจ็บแปลบหรือชาบริเวณมือและเท้าอาจหมายความว่าเส้นประสาทที่ส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อของคุณทำงานผิดปกติ ตัวอย่างเช่น คนที่มีอาการ Guillain-Barre หรือ GBS อาจมีอาการชาที่ขา แล้วลามไปยังแขนและหน้าอก การอักเสบของเส้นประสาทส่วนปลายเรื้อรังของผู้เป็นโรค CIDP ก็มีอาการคล้ายกับการทำลายปลอกหุ้มเส้นใยประสาทของโรค GBS แต่ในขณะที่อาการ GBS กินเวลาสองสัปดาห์ถึง 30 วัน โรค CIDP ใช้เวลานานกว่านั้นมาก


13. มีปัญหาในการกลืน

หากคุณมีความยากลำบากในการกลืนอาหาร อาจเกิดขึ้นจากหลอดอาหารบวมหรืออ่อนแอเกินไป บางคนอาจจะรู้สึกเหมือนมีอาหารติดอยู่ในลำคอหรือหน้าอก หรือมีอาการสำลักเมื่อกลืนอาหาร สาเหตุอาจเป็นเพราะเกิดปัญหากับระบบภูมิคุ้มกันของคุณ


14. น้ำหนักขึ้นหรือลงมากโดยไม่ทราบสาเหตุ

ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นแม้ว่าพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกายเหมือนเดิม หรือตัวเลขบนตาชั่งลดลงมากโดยหาสาเหตุไม่ได้ เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากความเสียหายของต่อมไทรอยด์ ซึ่งมีที่มาจากโรคแพ้ภูมิตัวเอง


15. ผิวหนังหรือดวงตาเป็นสีเหลือง

อาการนี้เรียกว่า ดีซ่าน อาจจะหมายความว่าระบบภูมิคุ้มกันกำลังโจมตีและทำลายเซลล์ตับของคุณ ซึ่งมันสามารถนำไปสู่โรคตับอักเสบจากการแพ้ภูมิตัวเองได้


และทั้งหมดนี้คือ 15 อาการที่อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันได้ อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้ก็อาจมาจากสาเหตุอื่นๆได้ด้วยเช่นกัน แต่เมื่อสังเกตเห็นความผิดปกติในร่างกายของคุณ ก็อย่ารีรอที่จะไปปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจรักษาอย่างทันท่วงที นอกจากนั้นเพื่อรักษาสุขภาพของระบบภูมิคุ้มกันของคุณให้แข็งแรงอยู่เสมอ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีประสิทธิภาพสูงในการเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง อย่าง Immucore (อิมมูคอร์) เป็นตัวช่วยพิเศษของคุณ


สนใจสอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ สามารถติดต่อได้ที่ Line@: @innerwell หรือ www.innerwell.me


Comments


bottom of page